วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
     1. ส่วนหัว (Heading) 

รูปแบบ
       PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์);
ตัวอย่าง
PROGRAM EXAM1;
    2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part)
รูปแบบ
      VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล;
ตัวอย่าง
      VAR I,J,K : INTEGER;
      NAME : STRING;
รูปแบบ
      TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล;
ตัวอย่าง
     TYPE SCORE = INTEGER;
     WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI);
   3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
     BEGIN
     Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ;
     END.




โครงสร้างภาษาซี ประกอบด้วย

     ส่วนประมวลผลก่อน ( Preprocessor )
เป็นส่วนที่บอกให้ตัวแปรภาษาทำส่วนนี้ก่อน
     ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง ( Type definitions )
เป็นส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง เพื่อให้ฟังก์ชันสามารถเรียกใช้ได้     
     ส่วนต้นแบบฟังก์ชัน ( Function prototypes )
เป็นส่วนที่ประกาศให้รู้ว่าในโปรแกรมมีฟังก์ชันใดบ้าง 
     ส่วนฟังก์ชันหลัก ( Functions )
ฟังก์ชันที่ต้องมีในโครงสร้างคือ ฟังก์ชัน main() โดยในฟังก์ชันจะประกอบด้วยตัวคำสั่ง  
     ส่วนฟังก์ชันอื่น ๆ 
ฟังก์ชันในส่วนนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรม โดยในฟังก์ชันจะประกอบด้วยตัวคำสั่ง



โครงสร้างภาษาเบสิก
     รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ประเภทของคำสั่งในภาษาเบสิก 

     การเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วย
      1. ค่าคงที่ (Constants)
      2.
 ตัวแปร (Variable)
      3.
 นิพจน์ (Expression)
แต่องค์ประกอบของโปรแกรมที่สำคัญยังต้องประกอบไปด้วย รูปแบบในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา ซึ่งรูปแบบและคำสั่งของโปรแกรมภาษาเบสิกก็จะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองเช่นกัน
   ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
    1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและกลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
        .รูปแบบคำสั่ง INPUT
         INPUT Variable, Variable..n
         Variable คือ ค่าของตัวแปรแบบตัวเลขหรือแบบสตริง
รายการตัวแปร Variable ถึง n จะเป็นตัวแปรที่เป็นจำนวนหรือตัวแปรอักขระก็ได้ในกรณีที่มีตัวแปรมากกว่า 1 ตัวแปร ให้ใช้เครื่องหมายคอมม่า (,) คั่นระหว่างตัวแปรแต่ละตัว เมื่อโปรแกรมรันมาถึงบรรทัดที่สั่งให้มีการรับค่าจะเกิดเครื่องหมาย ? รอให้ผู้ใช้ใส่ค่าเข้าไป การใส่ค่านี้จะต้องใส่ค่าให้ตรงกับตัวแปรที่กำหนด



โครงสร้างภาษาAssembly
     รูปแบบการเขียนภาษาแอสเซมบลี Z-80
    โปรแกรมต้นกำเนิด (Source Programs) ที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ควรที่จะเขียนด้วยรูปแบบมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการแก้ไขโปรแกรมในภายหลัง รูปแบบมาตรฐานที่ใช้มีตั้งแต่ขนาด 1 ไบต์ จนถึง 4 ไบต์ ไบต์แรกของคำสั่งเรียกว่า รหัสดำเนินการ จะเป็นตัวบอกให้คอมพิวเตอร์ว่าทำอะไร ส่วนไบต์ที่เหลือจะเรียกว่าตัวถูกดำเนินการ จะเป็นข้อมูล หรือตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล
     Label Program Comment 
    LOOP LD A,61H ; A=61Label ชื่อ Loop นี้ใช้สำหรับบอกตำแหน่งที่อยู่ที่คำสั่งของโปรแกรมในบรรทัดนี้ตั้งอยู่ Program ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยกันคือรหัสดำเนินการ และตัวถูกดำเนินการ ซึ่งอาจจะ มี 1 ไบต์ หรือมากกว่านี้ก็ได้
    Opcode ย่อมาจาก Operation Code เป็นส่วนที่บ่งบอกถึงการทำงานของคำสั่งนั้น
    Operand เป็นส่วนเสริมของคำสั่งเพื่อบอกถึงจุดประสงค์ของคำสั่ง
    Comment เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเพิ่มเติม เริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย



โครงสร้างโปรแกรมภาษาจาวา
public class ชื่อคลาส
{
      public static void main(String[] agrs)
     {
          ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม;
          ..................................................;

     }
}



โครงสร้างภาษาCobol

รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ
  1. Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน
  2. Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  3. Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล
  4. Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล


วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบเลขฐาน


1.ตารางเลขฐาน
ฐานสิบ
ฐานสอง
ฐานแปด
ฐานสิบหก
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
0000 0000
0000 0001
0000 0010
0000 0011
0000 0100
0000 0101
0000 0110
0000 0111
0000 1000
0000 1001
0000 1010
0000 1011
0000 1100
0000 1101
0000 1110
0000 1111
0
1
2
3
4
5
6
7
10
11
12
13
14
15
16
17
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
A
B
C
D
E
F

16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
0001 0000
0001 0001
0001 0010
0001 0011
0001 0100
0001 0101
0001 0110
0001 0111
0001 1000
0001 1001
0001 1010
0001 1011
0001 1100
0001 1101
0001 1110
0001 1111
20
21
22
23
24
25
26
27
30
31
32
33
34
35
36
37
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
1A
1B
1C
1D
1E
1F


2.การแปลงเลขฐานอื่นๆ เป็น ฐาน 10

          1.  1111001012 = 511

          2.   2FBC16 = 12043
          3.   2868 = 192


 
3.เลขฐานสิบเป็นฐานใดๆ
        1.   007 = 1112
        2.   007= 716
      3.   007= 78