วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
     1. ส่วนหัว (Heading) 

รูปแบบ
       PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์);
ตัวอย่าง
PROGRAM EXAM1;
    2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part)
รูปแบบ
      VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล;
ตัวอย่าง
      VAR I,J,K : INTEGER;
      NAME : STRING;
รูปแบบ
      TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล;
ตัวอย่าง
     TYPE SCORE = INTEGER;
     WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI);
   3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
     BEGIN
     Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ;
     END.




โครงสร้างภาษาซี ประกอบด้วย

     ส่วนประมวลผลก่อน ( Preprocessor )
เป็นส่วนที่บอกให้ตัวแปรภาษาทำส่วนนี้ก่อน
     ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง ( Type definitions )
เป็นส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง เพื่อให้ฟังก์ชันสามารถเรียกใช้ได้     
     ส่วนต้นแบบฟังก์ชัน ( Function prototypes )
เป็นส่วนที่ประกาศให้รู้ว่าในโปรแกรมมีฟังก์ชันใดบ้าง 
     ส่วนฟังก์ชันหลัก ( Functions )
ฟังก์ชันที่ต้องมีในโครงสร้างคือ ฟังก์ชัน main() โดยในฟังก์ชันจะประกอบด้วยตัวคำสั่ง  
     ส่วนฟังก์ชันอื่น ๆ 
ฟังก์ชันในส่วนนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรม โดยในฟังก์ชันจะประกอบด้วยตัวคำสั่ง



โครงสร้างภาษาเบสิก
     รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ประเภทของคำสั่งในภาษาเบสิก 

     การเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วย
      1. ค่าคงที่ (Constants)
      2.
 ตัวแปร (Variable)
      3.
 นิพจน์ (Expression)
แต่องค์ประกอบของโปรแกรมที่สำคัญยังต้องประกอบไปด้วย รูปแบบในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา ซึ่งรูปแบบและคำสั่งของโปรแกรมภาษาเบสิกก็จะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองเช่นกัน
   ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
    1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและกลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
        .รูปแบบคำสั่ง INPUT
         INPUT Variable, Variable..n
         Variable คือ ค่าของตัวแปรแบบตัวเลขหรือแบบสตริง
รายการตัวแปร Variable ถึง n จะเป็นตัวแปรที่เป็นจำนวนหรือตัวแปรอักขระก็ได้ในกรณีที่มีตัวแปรมากกว่า 1 ตัวแปร ให้ใช้เครื่องหมายคอมม่า (,) คั่นระหว่างตัวแปรแต่ละตัว เมื่อโปรแกรมรันมาถึงบรรทัดที่สั่งให้มีการรับค่าจะเกิดเครื่องหมาย ? รอให้ผู้ใช้ใส่ค่าเข้าไป การใส่ค่านี้จะต้องใส่ค่าให้ตรงกับตัวแปรที่กำหนด



โครงสร้างภาษาAssembly
     รูปแบบการเขียนภาษาแอสเซมบลี Z-80
    โปรแกรมต้นกำเนิด (Source Programs) ที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ควรที่จะเขียนด้วยรูปแบบมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการแก้ไขโปรแกรมในภายหลัง รูปแบบมาตรฐานที่ใช้มีตั้งแต่ขนาด 1 ไบต์ จนถึง 4 ไบต์ ไบต์แรกของคำสั่งเรียกว่า รหัสดำเนินการ จะเป็นตัวบอกให้คอมพิวเตอร์ว่าทำอะไร ส่วนไบต์ที่เหลือจะเรียกว่าตัวถูกดำเนินการ จะเป็นข้อมูล หรือตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล
     Label Program Comment 
    LOOP LD A,61H ; A=61Label ชื่อ Loop นี้ใช้สำหรับบอกตำแหน่งที่อยู่ที่คำสั่งของโปรแกรมในบรรทัดนี้ตั้งอยู่ Program ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยกันคือรหัสดำเนินการ และตัวถูกดำเนินการ ซึ่งอาจจะ มี 1 ไบต์ หรือมากกว่านี้ก็ได้
    Opcode ย่อมาจาก Operation Code เป็นส่วนที่บ่งบอกถึงการทำงานของคำสั่งนั้น
    Operand เป็นส่วนเสริมของคำสั่งเพื่อบอกถึงจุดประสงค์ของคำสั่ง
    Comment เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเพิ่มเติม เริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย



โครงสร้างโปรแกรมภาษาจาวา
public class ชื่อคลาส
{
      public static void main(String[] agrs)
     {
          ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม;
          ..................................................;

     }
}



โครงสร้างภาษาCobol

รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ
  1. Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน
  2. Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  3. Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล
  4. Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น